搜索此博客

2011年9月4日星期日

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจสมัยล้านนา


อาณาจักรล้านนา

-ที่ตั้ง     อยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

-ภูมิประเทศ    สิบสองปันนาเชนเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง

-ประวัดแหล่งท่องเที่ยว  

  พญามังรายพ่อขุนรามคำแหงพญางำเมืองพญามังราย หรือ เม็งราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญาเม็งรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย




   หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเหมาะแก่การค้าขาย มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็นทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบเข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์
หลังจากพญาเม็งรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ แม่น้ำปิง โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน

-      ลักษณะทางศิลปกรรมและการกำหนดอายุ  (สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม )
รายนามกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1835 - 2101)
1
พ.ศ. 1835 - 1854 (19 ปี)
2
พ.ศ. 1854 - 1868 (14 ปี)
3
พ.ศ. 1868 - 1877 (11 ปี)
4
พ.ศ. 1877 - 1879 (2 ปี)
5
พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี)
6
พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี)
7
พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี)
8
พ.ศ. 1945 - 1984 (39 ปี)
9
พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี)
10
พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)
11
พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว)
พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)
12
พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งที่ 1
13
พ.ศ. 2081 - 2086 (5 ปี)
พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2
14
พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)
15
พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี)
ว่างกษัตริย์
พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี)
16
พ.ศ. 2094 - 2107 (13 ปี) ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า

สรุป
-  ภาพประกอบ
      




พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง ขณะทรงปรึกษาหารือการสร้างเมืองเชียงใหม่

            



วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในช่วงยุคทองของล้านนา องค์พระเจดีย์พังทลายลงมาด้วยแรงแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 อันเป็นลางบอกเหตุความแตกแยกในราชสำนักและความอ่อนแอของอาณาจักร

-  บรรณานุกรม
  • สรัสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา. สำนักพิมพ์อมรินทร์.
  • Zinme Yazawin, Chronicle of Chaing Mai, University Historical Research Centre, Yangon, 2003

2011年8月28日星期日

Chinese Poster


Poster เขียนว่า  ครูสอนพิเศษที่ยิ่งใหญ่        ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ยิ่งใหญ่
 ผู้นำที่ยิ่งใหญ่                   นายท้ายที่ยิ่งใหญ่
ประธานเหมาอายุยาวนาน  อายุยาวนาน  อายุยาวๆนาน
มหาวิทยลัยฝึกหัดครูปักกิ่งทหารแดงกลุ่มเลขที่ 4  ปี ค.1967

                      

รูปภาพนี้มีทหารถือหนังสือเชื่อว่า
การบริการเพื่อประชาชน
การระลึกหมอปายเหฉียวอืน
ตาโง่ขย้ายเขา                                                                   
                                                 --  โดยเหมาเฉอตอง
ภูมิหลัง
ปฏิวัติวัฒนธรรมคือ ปี  .1966 ถึง1976  โดยประธานเหมาออกคำสั่งและเป็นผู้นำที่กิจกรรมการเมืองอยู่ที่จีน

2011年8月14日星期日

ลัทธิชาตินิยม

     

ความเป็นมา ของลัทธิชาตินิยม

        ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิการเมืองที่เน้นความจงรักภักดีต่อรัฐชาติ โดยถึงว่าชาติเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกย่ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหรือวัฒนธรรม  ลัทธิชาตินิยมจึงมิได้เป็นเพียงรูปแบบทางการเมือง  แต่เป็นอุดมคติในการดำเนินชีวิต
  การเกิดรัฐชาติและความรู้สึกในเรื่องความเป็นชาติของคนในแต่ละสมัยแต่ละท้องถิ่น  แม้จะมีลักษณะคล้ายลึงกันแต่ก็มีส่วนแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ การเมือง สังคม และประวัติศาสตร์ เมื่อพิจารณาลักษณะละเอียดแล้ว ชาตินิยมของแต่ละชาติจึงมีลักษณะต่างกัน
     ลัทธิชาตินิยมเจริญขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕- ๑๗ เกิดจากกษัตริย์ต้องการพ้นจากอำนาจของศาสนจักรคาทอลิก  และอิทธิพลของขุนนางในระบอบพี่วดัล นโยบายพาณอชยนิยม  ชึ่งรัฐใช้นโยบายสนับสนุนการค้าภายนอกเป็นนโยบายระดับชาติ ช่วงเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจแก่กษัตริย์และชนชั้นกลาง ส่วนการสนับสนุนให้ใช้ภาษาประจำชาติแทนภาษาประจำชาติแทนภาษาละตินก็ทำให้วัฒธรรมของเชื้อชาติแต่ละเชื้อชาติเจริญขึ้น  เนื้อหาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆก็หันกลับไปสู่กรีกและโรมันแทนวัฒนธรรมของคริสต์ศาสนา  จึงอาจกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมในเบื้องต้นนี้เป็นลัทธิชาตินิยมของชนชั้นสูงคือกษัตริย์
      การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ ๑๙ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นการมาชีพ แนวความคิดแบบสังคมนิยมชึ่งเน้นความเสนอภาค  ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาตินิยมในยุคนี้  ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียทำให้พวกสังคมนิยมมีกำลังใจในการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนระบบการเมืองใหม่ ความคิดได้แผ่เข้าไปในเอเซียและแอฟริกา โดยเฉพาะประเทศอาณานิคมการกู้ชาติกับการเป็นสังคมนิยมจึงมีความสัมพันธ์กัน  และมีลักษณะเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพต่อผ่ายปกครอง โดยเฉพาะที่เป็นคนต่างชาติ เป็นการปฏิวัติของผ่ายซ้ายต่อผ่ายขวา ในช่วงนี้จึงกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมคติของชนชั้นกรรมาชีพ

ความหมาย ของลัทธิชาตินิยม
ชาตินิยม หรือคำว่า Nationalism หมายถึง อุดมการณ์ทางการเมืองประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ได้ให้ความหมายของชาตินิยม ว่าหมายถึง การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตนรวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ได้ถกเถียงกันมาเป็นเวลายาวนานและยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด ในประเด็นนี้รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะได้แบ่งแนวความคิดชาตินิยมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกมองว่าชาตินิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยใหม่ ซึ่งชาตินิยมหรือความรักชาตินั้นเป็นสิ่งที่มีมาควบคู่กับมนุษย์มาแต่โบราณ ส่วนอีกกลุ่มมองว่าชาตินิยมเป็นผลผลิตของกระบวนการสร้างชาติในยุคใหม่ ซึ่งความแตกต่างและความผูกพันต่อชาติแบบที่เรียกกันว่าชาตินิยมนั้น เป็นปรากฏการณ์ของสังคมสมัยใหม่ อันเป็นไปในแนวทางเดียวกับดร.ธีรยุทธ บุญมี
   รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะ และดร.ธีรยุทธ บุญมี เห็นตรงกันว่า ชาติและชาตินิยม เป็นผลผลิตของยุคสมัยใหม่ หรือความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) ที่จะเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ ความเหมือนกัน  (Homogeneity) ความเป็นหนึ่งเดียว และความมาตรฐานเดียวกัน เช่น ภาษา วัฒนธรรม และประเพณี และอาจจะอธิบายขยายความต่อได้ว่า ชาตินิยมในสมัยใหม่ หมายถึง การใช้อำนาจทางการเมืองและทางทหารของกลุ่มชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ หรือเชิงศาสนา (ผู้เขียน)
ลักษณะ
ลักษณะของลัทธิชาตินิยมแบบนี้มีลักษณะยํ้าการดำ เนินนโยบายของชาติของตน
การดำ รงไว้ซึ่งบูรณภาพของชาติ การเพิ่มอำ นาจของชาติ ขณะเดียวกันเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของตน มีความพยายามที่จะรักษาและเพิ่มพูนความไพศาล ศักดิ์ศรีและผลประ-
โยชน์ของชาติตนไว  มีการเน้นความสาํ คญั ของเชอื้ ชาติ เผ่าพันธุ์ของตน วา่ เหนอื เชอื้ ชาติหรือเผ่าพันธุ์อื่น ("สังคมโลก หน่วยที่1-7" ,2527 : 263 )
เป็นการนำแนวคิดเรื่องชาตินิยมมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง   จะดำเนินการในลักษณะดังต่อไปนี้
1.            สร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นในชาติ ทั้งในยามปกติและยามวิกฤต
     2. สร้างเอกลักษณ์ของชาติเพื่อป้องกันการคุกคามจากต่างชาติ ในด้านต่าง ๆ
3. ควบคุมการขยายตัวของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ และรวมถึงชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมือง
   4. สร้างกระแสการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการต่อต้านแนวคิดการค้าเสรี