搜索此博客

2011年7月19日星期二

อุทยานประวัติศาสตร์ของไทย

รายชื่ออุทยานประวัติศาสตร์ของไทยทั้ง 10 แห่ง  ได้แก่

    1. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
    2. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
    3. อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
    4. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
    5. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
    6. อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
    7. อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์
    8. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
    9. อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
    10. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ


1. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


     กรุงศรีอยุธยา ราชธานีแห่งที่ 2 ของไทยที่มีอายุยาวนานถึง 417 ปี เป็นแหล่งศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่สำคัญของชนชาติไทย โบราณสถานต่างๆ ที่ปรากฏในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นวัดมงคลบพิตร พระราชวังโบราณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระราม วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ เพนียดคล้องช้าง ล้วนเป็นหลักฐานทางอารยธรรมซึ่งแสดงถึงระยะเวลาอันสงบสุข และเป็นปึกแผ่นที่ยาวนานที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ อำนาจทางการเมืองอันมั่นคงและซับซ้อน ความมั่งคั่งทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งประเทศเพื่อนบ้านและประเทศตะวันตก อาทิ ปอร์ตุเกส สเปน ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส เป็นประจักษ์พยานถึงความรุ่งเรืองและมั่นคั่งของอาณาจักรอยุธยาได้เป็นอย่างดี
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา


2.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (เมืองเก่าสุโขทัย)

                 
          อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุโขทัยตามทางหลวงแผ่นดินสายสุโขทัย-ตาก ทางหลวงหมายเลข 12 ไปทางทิศตะวันตก 12 กม. ถนนหลวงตัดผ่านกลางเมืองจากตะวันออกไปตะวันตก เมื่อผ่านเข้าเขตเมืองเก่าจะแลเห็นยอดพระเจดีย์แบบต่างๆ อันสง่างามและวิหารอันศักดิ์สิทธิ์ เปิดบริการตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. อัตราค่าเข้าชมท่านละ 20 บาท กำแพงเมืองสุโขทัยตั้งอยู่ตำบลเมืองเก่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นกำแพงพูนดิน 3 ชั้น โดยการขุดเอาดินขึ้นมาถมเป็นกำแพง และพื้นดินที่ขุดขึ้นยังเป็นคูน้ำไว้ใช้สอยและเป็นกำแพงน้ำขึ้นอีก 2 ชั้น กำแพงด้านทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 2,000 เมตร ด้านทิศตะวันตกยาว 1,600 เมตร มีประตูเมือง 4 ประตู ด้านเหนือเรียกว่า "ประตูศาลหลวง" ด้านใต้เรียกว่า "ประตูนะโม" ด้านทิศตะวันออกเรียกว่า "ประตูกำแพงหัก"ด้านทิศตะวันตกเรียกว่า "ประตูอ้อ" ภายนอกกำแพงเมืองในรัศมี 5 กม. มีโบราณสถานประมาณ 70 แห่ง สร้างขึ้นไว้ในพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร และได้รับการจัดตั้งให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การ UNESCO ในปี2537 การเดินทางไปอุทยานฯ จากตัวเมืองสุโขทัย นักท่องเที่ยวสามารถนั่งรถประจำทางสายเมืองเก่า (รถสองแถว) จอดรอบบริเวณท่ารถใกล้ป้อมยามตำรวจ ห่างจากสะพานข้ามแม่น้ำยมไปทางฝั่งตะวันตกราว 200 เมตร มีรถออกทุก 20 นาที ค่าโดยสารคนละ 5 บาท ตั้งแต่ 06.00-18.00 น. ทุกวัน และจากอุทยานฯ มีรถจอดที่บริเวณลานจอดรถ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว


สถานที่น่าสนใจในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภายในกำแพงเมือง
เป็นวัดใหญ่อยู่กลางเมือง สร้างสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระเจดีย์ต่างๆ รวมถึง 200 องค์ นับเป็นวัดสำคัญประจำกรุงสุโขทัย มีพระเจดีย์มหาธาตุ ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ศิลปะแบบสุโขทัยแท้ตั้งเป็นเจดีย์ประธาน ล้อมรอบด้วยเจดีย์ 8 องค์ บนฐานเดียวกัน คือ ปรางค์ศิลาแลงตั้งอยู่ที่ทิศทั้ง 4 และเจดีย์แบบศรีวิชัยผสมลังกาก่อด้วยอิฐอยู่ที่มุม ด้านตะวันออกบนเจดีย์ประธานมีวิหารขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง มีแท่นซึ่งเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ พระศรีศากยมุนี ปัจจุบันได้รับการเคลื่อนย้ายไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพฯ ที่ด้านเหนือและด้าน ไต้เจดีย์มหาธาตุมีพระพุทธรูปยืนภายในซุ้มพระ เรียกว่า "พระอัฎฐารศ" ด้านใต้ยังพบแท่งหินเรียกว่า "ขอมดำดิน" อีกด้วย


3 . อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง


ปราสาทหินพนมรุ้ง  
เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีอายุการก่อสร้างและใช้เป็นเทวสถาน ต่อเนื่องกันมา หลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 17 จนถึงพุทธ ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมหันมานับถือศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้ จึงคงจะได้รับการดัดแปลงเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายานในช่วงนั้น
        
        ตัวโบราณสถาน ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟ ที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร จากพื้นราบ คำว่า "พนมรุ้ง" หรือ "วนํรุง" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "ภูเขาใหญ่" ปราสาทพนมรุ้งหันไปทางทิศตะวันออก ประกอบ ด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ตั้งเรียง รายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธาน บนยอดอัน เปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพังสามชั้น ผ่านขึ้นมาสู่ พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานาง เรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้าง เป็นระยะๆ ถนนทางเดิน นี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุด เชื่อมต่อระหว่างดินแดน แห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้าน ข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้าง ด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพาน นาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็น ชานพักเป็นระยะๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลา โล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้า ประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้า สู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมี สะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
    
       ปรางค์ประธาน             หรือส่วนที่สำคัญที่สุด ตั้งอยู่ตรง ศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่างๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวะ นาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและ รายละเอียดอื่นๆ ช่วยให้ กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและ สะพานนาคราช สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17


4.  อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง)

     
    เป็นโบราณสถานเก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ 3 ยอด ยอดที่สูงที่สุดสูง 95 เมตร แต่เดิมชาวบ้านเรียกภูเขานี้ว่า "เขาสมน" พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวังสำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งในขณะนั้นเป็นพระสมุหกลาโหมเป็นแม่กองก่อสร้าง จนสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ. 2403 ทรงพระราชทานนามว่าพระนครคีรี แต่ชาวเมืองเพชรเรียกกันติดปากว่าเขาวัง สืบมาจนบัดนี้ พระนครคีรีมีพระที่นั่ง พระตำหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่าง ๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบนิโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมจีน ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ๆ 3 ยอดด้วยกัน ดังนี้
สถานที่น่าสนใจภายในเขตอุทยานฯ
ยอดเขาด้านทิศตะวันออก
เขายอดกลาง
 ยอดเขาด้านทิศตะวันตก
5   อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย


                   ก่อนช่วงเวลาที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะเป็นกษัตริย์ปกครองสุโขทัยนั้น มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึก ตำนาน และพงศาวดาร ยืนยัน ถึงการมีเมืองโบราณ 2 เมืองในลุ่มน้ำยมอยู่ก่อนแล้ว คือ เมืองสุโขทัย กับเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย ผู้ปกครองเขตแคว้นแถบนี้ของชุมชนชาวไทย ปรากฏนามว่า พ่อขุนศรีนาวนำถุม เป็นเจ้าเมืองสองเมือง(ครองสองนคร) คือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย เมื่อพ่อขุนศรีนาวถุมสิ้นพระชนม์ ขอมสบาดโขลญลำพงใช้กำลังยึดเมืองสุโขทัย ต่อมาพ่อขุนบางกลางหาว ผู้นำทัพชนชาวไทยกับ พ่อขุนผาเมือง โอรสองค์หนึ่งของพ่อขุนศรีนาวนำถุม และเป็นเจ้าเมืองราด ร่วมกันยึดที่มั่นที่เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองบางขลัง แล้วนำทัพกลับลงมายึดเมืองสุโขทัยกลับมาได้ พ่อขุนผาเมือง แม้จะเข้ายึดเมืองสุโขทัยได้ก่อน แต่ได้สถาปนาพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย โดยมีพระนามว่า ศรีอินทรปตินทราทิตย์ เรียกกันต่อมาในภายหลังว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

       เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ครองสุโขทัยแล้ว พระองค์พัฒนาฟื้นฟูบูรณะเมืองศรีสัชนาลัยในทุกๆด้าน โดยเฉพาะการทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่เป็นสินค้าหลัก ส่วนด้านศาสนาพระองค์ได้ก่อสร้างเจดีย์พระบรมธาตุขึ้นพร้อมทั้งก่อกำแพงล้อมรอบกลางเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่า พระธาตุกลางเมืองที่พ่อขุนรามคำแหงทรงสร้างนี้ น่าจะเป็นเจดีย์วัดช้างล้อมซึ่งตั้งอยู่กลางเมืองศรีสัชนาลัย เมืองศรีสัชนาลัยมีสถานะเป็นเมืองลูกหลวงของสุโขทัยมาหลายชั่วกษัตริย์ แม้เมื่อสุโขทัยตกอยู่ภายใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาในช่วงต้น ๆ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์พระร่วงก็คงได้รับเกียรติให้ปกครองดูแลเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ตามเดิม

      อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก (World Heritage) เช่นเดียวกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเมื่อปีพุทธศักราช 2534 ตั้งอยู่ในเขตตำบลศรีสัชนาลัย ตำบลสารจิต ตำบลหนองอ้อ และตำบลท่าชัย ตัวเมืองโบราณศรีสัชนาลัยอยู่ในเขตหมู่บ้านพระปรางค์ ตำบลศรีสัชนาลัย พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์ทั้งหมดประมาณ 45.14 ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่า เมืองเชลียง แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ศรีสัชนาลัย ในสมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงขึ้นครองกรุงสุโขทัย และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่เป็นศูนย์กลางการปกครองแทนเมืองเชลียง ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์มีโบราณสถาน และโบราณวัตถุทั้งหมด 215 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง โบราณสถานเหล่านี้ประกอบไปด้วยวัด สถูป เจดีย์ โบสถ์ วิหาร มณฑป ศาลาประตูเมือง กำแพงเมือง พระราชวัง ป้อม คูน้ำคันดิน เตาเผาเครื่องสังคโลก โบราณสถานที่สำคัญๆ แบ่งออกเป็น

1.  กลุ่มโบราณสถานภายในกำแพงเมือง
2.  กลุ่มโบราณสถานนอกเขตกำแพงเมือง



6   อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
                       
                  


          ที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยอาณาจักรขอมที่ใหญ่โตและงดงาม
ประวัติ

           เมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างตามแบบแผนของศิลปะขอม มีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมาจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะสร้างบ่งบอกว่า ปราสาทหินพิมายคงเริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ในฐานะเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ รูปแบบของศิลปะเป็นแบบบาปวนผสมผสานกับศิลปะแบบนครวัด ซึ่งหมายถึงปราสาทนี้ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นสถานที่ทางศาสนาพุทธในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่

           เมื่ออิทธิพลของวัฒนธรรมขอมเริ่มเสื่อมลงหลังรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ และมีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยในเวลาต่อมา เมืองพิมายคงจะหมดความสำคัญลง และหายไปในที่สุด เนื่องไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับเมืองพิมายเลยในสมัยสุโขทัย

           ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนปราสาทหินพิมายเป็นโบราณสถาน และได้จัดตั้งเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยได้ดำเนินการปรับปรุงจัดตั้งถึง ๑๓ ปี ร่วมมือกันระหว่างกรมศิลปากร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ๒๕๓๒ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ พระราชดำเนิน เป็นองค์ประธานในพิธีเปิดอุทยาน



 7 อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์

          ปราสาทเมืองสิงห์ มีจุดมุ่งหมายสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธศาสนสถานในพุทธศาสนา นิกายมหายาน จากการขุดตกแต่งของกรมศิลปากรที่ค่อยทำค่อยไปตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ แต่มาเริ่มบุกเบิกกันจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ แล้วเสร็จเป็นอุทยานประวัติศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงสวยงามดังที่เห็นอยู่ในวันนี้ ปราสาทเมืองสิงห์นี้กล่าวว่าสถาปัตยกรรมและปฏิมากรรม คล้ายคลึงกับของสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ. ๑๗๒๐ - ๑๗๘๐) กษัตริย์นักสร้างปราสาทแห่งขอม จากการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบศิลปกรรมที่สำคัญยิ่งคือพระพุทธรูปนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และ นางปรัชญาปารมิตา และยังพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีอีกองค์หนึ่ง รูปลักษณ์คล้ายกับที่พบในประเทศกัมพูชา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้นำไปเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แล้ว คงเหลือแต่องค์จำลองไว้

              จากศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ เมืองพระนคร ประเทศกัมพูชา ซึ่งจารึกโดย พระวีรกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ จารึกชื่อเมือง ๒๓ เมือง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างไว้ มีเมืองชื่อ ศรีชัยสิงห์บุรี ซึ่งสันนิษฐานกันว่าคือเมือง ปราสาทเมืองสิงห์ นี่เอง และยังมีชื่อของเมือง ละโวธยปุระ หรือ ละโว้ หรือลพบุรี ที่มีพระปรางค์สามยอด เป็นโบราณวัตถุร่วมสมัย

           ในสมัยรัชกาลที่ ๑ เมืองสิงห์เป็นเมืองหน้าด่าน รัชกาลที่ ๔ โปรดให้เจ้าเมืองสิงห์เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ แต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล จึงยุบเมืองสิงห์เหลือแค่ตำบล



8. อุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร



           อุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตร.กม. เขตอุทยานฯ แบ่งเป็น 2 เขตคือ

       


       



          อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้วตำบลเมืองพาน อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทางประมาณ 67 กม. ตามเส้นทางหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) บริเวณหลักกม.ที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กม.แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามเส้นทางหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กม. มีแยกขวาเป็นทางเข้าไปประมาณ 2 กม. ภายในบริเวณอุทยานฯ ทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดและข้อมูลของอุทยานฯรวมทั้งแผนที่และเส้นทางเพื่อความสะดวกในการเที่ยวชม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดบริการเวลา 08.00-16.30 น.ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทนี้เป็นที่ตั้งของสถานที่ซึ่งแสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์ และการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกขัดเกลาจากขบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติ ทำให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่างๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับ ชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง
อาทิ


10.อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ (อำเภอศรีเทพ) , เพชรบูรณ์



        วัดเจดีย์เจ็ดต้น อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
      เมืองเก่าศรีเทพ เดิมชื่อ "เมืองอภัยสาลี" ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น" เมืองศรีเทพ" เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี เมืองศรีเทพ เป็นเมืองที่มีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ มีเนื้อที่ประมาณ 2,889 ไร่ หรือ 4.7 ตรกม.. ภายในตัวเมืองศรีเทพแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เมืองส่วนใน มีลักษณะเป็นรูปเกือบกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 กม. มีช่องทางเข้าออก 8 ช่องทาง พื้นที่ภายในเป็นที่ราบลอนคลื่น มีสระน้ำและหนองน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และมีโบราณสถานที่ขุดแต่งแล้ว และยังไม่ได้ขุดแต่งประมาณ 70 แห่ง เมืองส่วนนอก มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าต่อกับเมืองส่วนใน มีขนาดเป็น 2 เท่าของเมืองส่วนใน มีช่องทางเข้าออก 7 ช่องทาง มีสระน้ำกระจายอยู่ทั่วไป และมีโบราณสถานกระจายอยู่แบบเดียวกับเมืองส่วนใน
   
    
กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกของอุทยานประวัติศาสตร์กําแพงเพชร นับเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ เมืองกําแพงเพชร ด้วยโบราณสถานที่เป็นอรัญญิกหรืออรัญวาสีดังเช่นในอดีต
        เขตนอกกําแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม มีโบราณ สถานที่เป็นวัดขนาดใหญ่น้อยรวม 40 แห่ง วัดที่สําคัญ คือ วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดสิงห์ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดกําแพงงาม วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ เป็นต้น 
เขตภายในกําแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ มีโบราณสถานที่สําคัญคือ วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ เขตวังโบราณ (สระมน) ศาลพระอิศวร กําแพงเมือง คูเมืองและป้อมประตูต่างๆ
                                                             

อ้างอิง            http://www.blogger.com/post-edit.g