搜索此博客

2011年6月28日星期二

ปราสาทนครธม


      นครธม              ปีที่สร้าง : สร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18       รัชสมัย : รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7          ศิลปะ : เป็นศิลปะแบบบายน           ศาสนา : ศาสนาพุทธนิกายมหายาน
• นครธมมีความหมายว่าเมืองใหญ่ (ธม แปลว่า ใหญ่) เมืองพระนครหลวงมีพระราชวังและปราสาทต่างๆมากมาย และเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรขอมมั่งคั่งและรุ่งโรจน์เป็นที่สุด ไม่ว่าใครก็ตามที่เดินทางมาเยี่ยมชมเมืองพระนครหลวง และนับตั้งแต่ก้าวแรกที่จะต้องเดินทางผ่านช่องประตูเข้ามา้ ต้องตื่นตะลึงกับความโอฬารของหินทรายที่สลักเป็นรูปพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ด้วยสายตาที่ทอดลงมายังที่ต่ำ และรอยยิ้มที่เป็นสุขหรือยิ้มแบบบายนที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ทำให้ผู้พบเห็นมิอาจจะละสายตาไปได้ง่าย
• ส่วนด้านข้างของกรอบประตูก็จะพบกับประติมากรรมลอยตัวพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ 3 เศียร คอยต้อนรับอาคันตุกะจากแดนไกลอีกเช่นกัน
• สองข้างทางของสะพานที่ทอดข้ามคูเมืองด้านซ้ายเป็นศิลาทรายสลักลอยตัวของเหล่าเทวดาฉุดตัวนาค ส่วนด้านวาเป็นบรรดายักษ์กำลังฉุดดึงลำตัวพญานาคอยู่เช่นกัน ทั้งภาพสลักเทวดา นาค และยักษ์ นิยมนำมาให้กันมากในศิลปะยุคบายนนี้
• เมืองพระนครหลวง นับได้ว่าเป็นราชธานีแห่งใหม่ที่ย้ายมาจากนครยโศธรปุระที่มีมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 อันเป็นพระราชดำริของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประสงค์จะขยายอาณาจักรขอมให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เมืองพระนครหลวงมีคูเมืองล้อมรอบกว้างประมาณ 80 เมตร แต่ละด้านมีความยาวถึง 3 กิโลเมตรและมีกำแพงล้อมรอบทั้งสี่ด้านด้วยกัน มีพื้นที่มากถึง 9 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,625 ไร่ กำแพงแต่ละด้านก่อด้วยศิลาแลงสูง 7 เมตร
• ประตูด้นทิศใต้ของเมืองพระนครหลวงจัดได้ยังมีความสมบูรณ์ของรูปประติมากรรมลอยตัวของเทวดาและยักษ์ยื้อยุดฉุดนาคเพื่อกวนเกษียรสมุทร อันเป็นตอนเริ่มจากนิยานปรัมปราที่พวกพราหมณ์เล่าถึงตอนกำเนิดโลกมนุษย์และจักรวาล
ปราสาทบายน
• ปราสาทบายนสร้างในปีพุทธศตวรรษที่ 18 รัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะแบบบายน ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ปราสาทบายนเป็นปราสาทหลวงประจำรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และเป็นการปฏิวัติรูปแบบของการสร้างปราสาทที่มีภาพลักษณ์ต่างจากการสร้างรูปแบบเดิมๆ โดยสิ้นเชิง เป็นเพราะพระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งต่างจากกษัตริย์หลายพระองค์ที่ล้วนแล้วแต่นับถือศาสนาฮินดูหรือศาสนาพราหมณ์ที่สืบทอดมากกว่า 415 ปี
• ปราสาทบายนถูกสร้างโดยการนำหินมาวางซ้อนๆ กันขึ้นเป็นรูปร่าง แม้จะเป็นปราสาทไม่ใหญ่โตเท่านครวัด แต่มีความแปลกและดูลี้ลับทั้งปราสาทมีแต่ใบหน้าคน หากขึ้นไปยืนอยู่ภายในปราสาทนี้ไม่ว่ามุมไหนก็หาได้รอดหลุดพ้นจากสายตาเหล่านี้ได้เลย
• นักเดินทางรุ่นเก่าที่เดินทางมายังปราสาทบายนรุ่นแรกๆ เช่น นายปิแอร์ โลตี ได้บันทึกไว้ว่า “ข้าพเจ้าแหงานหน้าขึ้นไปยังปราสาทที่มีต้นไม้ปกคลุม ซึ่งทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนคนแคระและทันทีทันใด เลือดในตัวข้าพเจ้าก็เกิดแข็งเย็นขึ้นมา เมื่อมองเห็นรอยยิ้มขนาดมหึมาที่กำลังมองลงมาแล้วก็รอยยิ้มอีกด้านหนึ่งเหนือกำแพงอีกด้านหนึ่งแล้วก็รอยยิ้มที่สารทแล้วก็รอยยิ้มที่ห้า แล้วก็ที่สิบ ปรากฏจากทั่วสารทิศข้าพเจ้ารู้สึกเหมือนมีตาคอยจ้องมองอยู่ทุกทิศทาง”
ปรางค์ปราสาทบายน
• ปรางค์ปราสาทบายนทั้ง 54 ปรางค์ถูกสลักเป็นภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผันพระพักตร์ออกไปทั้งสี่ทิศ เพื่อสอดส่องดูแลความทุกข์สุขของเหล่าพสกนิกรของพระองค์ให้อยู่เย็นเป็นสุข รอยยิ้มที่ระเรื่อนี้เรียกว่ายิ้มแบบบายนเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ใบหน้าเหล่านั้นหากนับรวมกัน 54 ปรางค์ปราสาทปรางค์ปราสาทละ 4 หน้า จะมีรวมถึง 216 หน้า แต่ปัจจุบันได้สึกกร่อนพังทลายลงไปหลายหน้าแล้ว
• รอบๆ ปรางค์ประธานประกอบด้วยระเบียงคต 2 ชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ชั้นนอกมีขนาดกว้าง 140 เมตร ยาว 160 เมตร ชั้นในมีขนาดกว้าง 70 เมตร ยาว 80 เมตร หน้าโคปุระทุกด้านมีภาพประติมากรรมลอยตัวรูปสิงห์ทั้งสองข้างของบันได ปรางค์ประธานมีลักษณะเป็นทรงกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 25 เมตร และสูง 43 เมตร เหนือจากระดับพื้น ตัวปราสาทโดยรอบแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบระเบียงคตด้านนอก ชั้นระเบียงคตด้านใน และบนสุดเป็นชั้นของปรางค์ประธาน และปรางค์บริวารที่ทุกปรางค์จะมีภาพพระพักตร์ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ผินพระพักตร์มองออกไปทั้งสี่ทิศ
ระเบียงคตชั้นนอก
• แต่เดิมมีหลังคาหินทรายมุงอยู่ แต่ธรรมชาติและป่าที่กลืนปราสาทนานนับร้อยปี รวมทั้งสงครามต่อเนื่องอีกหลายทศวรรษ ทำให้หลังคาส่วนใหญ่พังทลายลงหมด ปัจจุบันหลังคาหินเหล่านี้กองอยู่ในบริเวณปราสาทหลายกอง พบแต่เสาศิลาทรายที่ทั้งสี่ด้านของเสามรภาพสลักนูนต่ำของนางอัปสรากำลังร่ายรำ
ผนังด้านทิศตะวันออก
• ตลอดความยาว 35 เมตรและสูง 3 เมตร ถูกสลักเป็นภาพนูนต่ำ ในภาพเป็นขบวนทหารและแม่ทัพนายกองส่วนหนึ่งของขบวนทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภาพแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือภาพด้านบน กลางและด้านล่างง การจัดขบวนทัพใยสมัยนั้นเป็นรูปแบบขบวนทัพที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยกองกำลังสอดแนม ทัพหน้า ทัพหลวง กองสรรพวุธและกองเสบียง การแต่งกายของเหล่าทหารมีรูปแบบเป็นหมู่เป็นกองเห็นได้ชัด จากลักษณะของหมวก เสื้อ ผ้ายันต์ และผ้านุ่ง ตลอดจนอาวุธที่ใช้ก็แตกต่างกันตามลำดับและยศของทหาร ทัพหน้ามีกองกำลังทหารจากประเทศราช บางเหล่าแต่งกายคล้ายทหารจีน ทัพหลวงมีกระบวนม้าและกระบวนช้าง มีพัดโบก และอาวุธครบ สุดท้ายเป็นกองเสบียงมีโคเทียมเกวียนที่บรรทุกสัมภาระไปกันมากมาย มีคนจูงหมู แบกเต่าไปกับขบวนด้วย บางคนกำลังก่อไฟย่างปลา บางคนกำลังหุงข้าว ภาพสลักชุดนี้เล่าถึงชีวิตของทหารในกองทัพพร้อมกับวิถีชีวิตของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
ผนังด้านทิศใต้
• เป็นภาพสลักยุทธภูมิทางเรือของทัพขอมและทัพจาม การปะทะกันทางเรือของสองทัพอย่างนองเลือด ทหารทั้งฝ่ายขอมและจามล้มตายลงเป็นอันมาก บางคนก็ถูกจระเข้ในโตนเลสาบคาบไป ณ สมรภูมิแห่งนี้เล่าถึงตอนที่กำลังทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สามารถเอาชนะทัพของพวกจามได้อย่าราบคาบ
ผนังด้านทิศเหนือ
• ภาพสลักเล่าเรื่องในรั้งในวังของเหล่าพระราชวงศ์ เช่น ตอนเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชน ภาพการประดับราชวังเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะ ภาพการซ่อมแซมปราสาท ภาพการแสดงกายกรรม การละเล่น คนไต่ราว การแสดงมายากล มวยปล้ำ และพวกสัตว์ที่มากับคณะละครสัตว์ เป็นต้น
ผนังระเบียงคตชั้นใน
• ส่วนมากสลักภาพในพระราชพิธีต่างๆ เช่น ตอนประชุมเหล่าเสนนาบดี ภาพบางตอนเล่าถึงกฤษดาภินิหารต่างๆ ของพระเจ้าชยวรมันที่ 7 ก่อนขึ้นครองราขย์ ในขณะที่มหาปราสาทนครวัดมีภาพสลักในศาสนาฮินดูตาที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงนับถือ แต่ที่ปราสาทบายนภาพสลักในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของขอมโบราณเมื่อ 829 ปีก่อน หากจะเปรียบเทียบภาพสลักระหว่างสองปราสาทนี้แล้วจะพบว่า ที่ปราสาทบายนมีลักษณะเร่งรีบ และมีความงามด้อยกว่าที่นครวัดอยู่บ้าง และยังพบได้ว่ามีบางพื้นที่ซึ่งภาพสลักไม่เสร็จ เช่น บริเวณผนังทิศใต้ฝั่งตะวันตก เป็นเรื่องขบวนทัพของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทบายนนับเป็นปราสาทที่มีความแปลกที่สุดทั้งด้านศิลปะ และการก่อสร้าง สมควรที่จะเข้าไปเยี่ยมชมไม่แพ้การไปเยี่ยมชมที่ปราสาทนครวัดเช่นกัน




   อ้างอิง   http://www.oceansmile.com/KHM/AngkorTom.htm

ปราสาทนครวัด


นครวัด    
      เป็นศาสนสถานตั้งอยู่ในเมืองพระนคร จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยเป็นศาสนสถานประจำพระนครของพระองค์ ตัวเทวสถานได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี จนเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญเพียงแห่งเดียวที่ยังเหลือรอดมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ก่อสร้างแล้วเสร็จ แต่เดิมนครวัดเป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่พระวิศณุ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นศาสนาพุทธ นครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ตัวเทวสถานถือเป็นที่สุดของสถาปัตยกรรมเขมรสมัยคลาสสิกรุ่งเรือง และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา โดยปรากฏในธงชาติ และเป็นจุดท่องเที่ยวหลักของประเทศ ตลอดจนได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร
       ปราสาทนครวัดได้เริ่มสร้างในกลางพุทธศตวรรษที่ 17 ในรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เพื่อบูชาแด่พระวิษณุหรือ พระนารายณ์ ในปี พ.ศ. 1720 ชาวจามได้บุกรุกขอม ทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ต้องย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองนครหลวง หรือ เสียมราฐ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระองค์จึงสร้างเมืองนครธม และ ปราสาทบายน ห่างจากปราสาทนครวัดไปทางเหนือ เพื่อเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ของชาวขอม
ในปี ค.ศ. 1586 (พ.ศ. 2129) ได้มีนักบวชจากโปรตุเกส นามว่า อันโตนิโอ ดา มักดาเลนา เป็นชาวตะวันตกคนแรกที่ได้ไปเยือนปราสาทนครวัด แต่ที่จะถือว่าเป็นการเปิดประตูให้แก่ปราสาทนครวัดนั้น คือการค้นพบของ อองรี มูโอต์ นักสะสมแมลงและนักสำรวจชาวฝรั่งเศส เมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้วมา
ปราสาทนครวัดเป็นสิ่งก่อสร้างในยุคสิ้นสุดของราชอาณาจักรขะแมร์ โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก

ตัวปราสาท• ประกอบด้วยโครงสร้างหลักที่เด่นๆ ของสถาปัตยกรรมขอม 2 ส่วน คือ ปิรามิดปราสาทและระเบียงคติที่เชื่อมติดกัน ในส่วนของปิรามิดปราสาทสร้างยกระดับขึ้นสูง 3 ชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นสัดส่วนด้วยระเบียงคต มีโคปุระอยู่ทั้งสี่ทิศหลักและศาลาที่มุมทั้งสี่มุม หรือปราสาทบริวารล้อมรอบของปรางค์ประธาน
• ด้วยขนาดที่ใหญ่โตของนครวัด สัญลักษณ์ต่างๆที่แทนในสิ่งก่อสร้างทั้งหลายตามคติความเชื่อในศาสนาฮินดูก็ให้ภาพและความรู้สึกที่คล้ายจริง คูเมืองหมายถึงมหาสมุทรที่ล้อมรอบโลก ระเบียงคตที่เชื่อมกันล้มรอบปราสาท หมายถึงเทือกเขาน้อยใหญ่ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุที่ประทับของเทพเจ้า และตัวปราสาทชั้นบนสุดหรือปรางค์ประธานหมายถึงยอดเขาพระสุเมรุ การได้ขึ้นไปถึงปรางค์ประธานอันสูงชันก็เหมือนการจำลองการขึ้นเขาพระสุเมรุจริงๆ
• จุดเด่นที่สุดจุดหนึ่งของมหาปราสาทนครวัด นอกจากสิ่งก่อสร้างอันยิ่งใหญ่มหัศจรรย์ คือภาพสลักบนผนังด้านในของระเบียงคตชั้นล่างของตัวปราสาทแม้เรื่องราวส่วนใหญ่จะมาจากมหากาพย์และคัมภีร์พระเวทของศาสนาฮินดู แต่ก็ไม่ลืมกล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ผู้สร้างไว้ด้วยโดยสลักเป็นรูปกระบวนทัพของพระองค์ ส่วนหนึ่งในภาพสลักนี้มักเป็นที่สนใจหยุดชมของนักท่องเที่ยวเสมอ คือภาพกองทัพชาวสยาม ซึ่งปัจจุบันยังหาข้อสรุปแน่ชัดไม่ได้ว่าเป็นชาวสยามกลุ่มใด โดยมีลักษณะเด่นที่การแต่งกาย การเดินทัพที่ดูไม่เป็นแถว ไม่เป็นระเบียบ
ปราสาทชั้นนอก
• ทางดำเนินเข้าสู่มหาปราสาทนครวัดมี 5 ประตู ประตูใหญ่อยู่ตรงกลางสำหรับพระมหากษัตริย์ดำเนินเข้าสู่นครวัด ส่วนทางเข้าที่เล็กกว่าถัดออกไปสำหรับเสนาบดี และที่ไกลสุดอีกสองแห่งมีขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับประชาชนทั่วไปรวมทั้งสัตว์พาหนะ
ภาพสลัก : ภาพสลักที่มหาปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของศิลปะขอม จนได้ชื่อว่าเป็นศิลปะยุคนครวัด ปรากฏอยู่ที่ผนังด้านในระเบียงคตชั้นนอกสุดของตัวปราสาท พื้นที่รวมของภาพสลักมีนาดใหญ่มาก ยาวเกือบ 600 เมตร เนื้อหาของภาพส่วนใหญ่มาจากคัมภีร์พระเวท และมหากาพย์ของสาสนาฮินดู
การชมภาพแกะสลัก : การชมภาพสลักภาพที่ไม่ควรพลาดมี ภาพการรบที่ทุ่งกุรุเกษตรในมหาภารตะยุทธ ภาพขบวนทัพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ภาพการตัดสินความคดีและความชั่วของพญายม ภาพการกวนเกษียรสมุทร และยังมีภาพอื่นๆอีกมากมายหลายร้อยภาพให้ได้ชมกัน
ภาพการรบที่ทุ่งกุรุเกษตร
• เป็นเรื่องราวในมหาภารตยุทธ กล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างพี่น้องสองตระกูล คือตระกูลปาณฑพ และเการพ ทั้งสองตระกูลยกทัพมารบกันขั้นแตกหักที่ทุ่งกุรุเกษตรทางตอนเหนือของอินเดีย ภาพสลักมีความยาว 49 เมตร เล่าเรื่องขณะสู้รบกัน ตระกูลเการพอยู่ทางด้านซ้ายและตระกูลปาณฑพอยู่ทางด้านขวา ขอบภาพทั้งสองด้านเป็นภาพของทหารแต่ละฝ่ายยืนเรียงแถวกันเป็นระเบียบ มีนายทหารบนรถม้าศึกและหลังช้างการรบถึงขั้นตะลุมบอนรุนแรงที่บริเวณที่บริเวณกลางภาพ มีตัวละครเด่นๆ คือ ภีษมะ แม่ทัพของฝ่ายเการพอรชุน แม่ทัพฝ่ายปาณฑพ และพระวิษณุ ที่อวตารลงมาเป็นพระกฤษณะ ซึ่งเป็นผู้ขับรถศึกให้อรชุน การรบดำเนินมาจนวันที่สิบ อรชุนก็สังหารภีษมะ จะเห็นภาพภีษมะนอนตายบนลูกธนูที่ถูกยิงทั่วทั้งตัว การรบสิ้นสุดลงในวันที่สิบแปด โดยตระกูลปาณฑพเป็นฝ่ายชนะและถือเป็นวันสิ้นสุดของยุค
ภาพขบวนทัพของพระเจ้าสุรยวรมันที่ 2
• นับเป็นภาพสลักที่ต่างจากทุกภาพ คือเป็นภาพจากเรื่องจริงในประวัติศาสตร์ มีความยาวถึง 94 เมตร โดยแบ่งภาพออกได้เป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นช่วงที่ยังไม่จัดตั้งขบวนทัพ ส่วนที่สองเป็นภาพขบวนทัพ ในส่วนแรกนั้นแบ่งเป็นสองชั้น ชั้นบนเป็นภาพพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ประทับบนราชบัลลังก์ ล้อมรอบด้วยเหล่ารัฐมนตรี และแม่ทัพนายกองที่มาเฝ้า
• ชั้นล่างเป็นภาพขบวนของเจ้าหญิง พระธิดาบนเสลี่ยง เมื่อสิ้นสุดภาพในส่วนแรกก็เริ่มเป็นภาพขบวนทัพของทหารเดินเรียงไปตลอดแนว พร้อมกับแม่ทัพนายกองของแต่ละกองทัพบนหลังช้าง เกือบหน้าสุดของขบวนทัพเป็นกองทัพที่มีลักษณะแตกต่างจากทัพอื่นทหารมีใบหน้าที่โค้งมน สวมเสื้อลายดอก นุ่งผ้าคล้ายกระโปรง ชายผ้ายาว สวมหมวกทรงสูงเป็นชั้นๆ ที่ปลายมีภู่ยาว แม่ทัพอยู่บนหลังช้างเช่นกัน สันนิษฐานว่าเป็นทัพของชาวสยาม
นรก สวรรค์ การพิพากษาของพญายม (ระเบียงคตทิศใต้ ด้านทิศตะวันออก)
• ภาพสลักนี้นักโบราณคดีหลายท่านเชื่อว่าหลังจากที่พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จสวรรคตแล้ว ลักษณะของภาพแบ่งเป็นสองตอน แต่ละตอนแบ่งออกเป็นสองถึงสามชั้น ซึ่งชั้นบนจะเป็นบนโลก และสวรรค์ ชั้นล่างสุดเป็นรก ในตอนแรกซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายของภาพ เป็นภาพของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จนำเหล่าข้าราชบริพารที่ดีขึ้นสวรรค์ พวกอสูรและคนไม่ดีตกนรก ในตอนที่สองชั้นกลางเป็นภาพพญายมสิบแปดมือนั่งพิพากษาความดี-ชั่ว ของคนตายบนหลังควายซึ่งเป็นสัตว์พาหนะ และภาพที่นับเป็นจุดเด่นของภาพสลักนี้คือภาพชั้นล่างของนรกขุมต่างๆ ที่มีการทรมารคนชั่วคนบาปตามคติขอมเชื่อว่านรกภูมิแบ่งเป็นชั้นถึง 32 ชั้น
ภาพกวนเกษียรสมุทร
• การกวนเกษียรสมุทรมีจุดประสงค์เพื่อผลิตน้ำอมฤต โดยใช้เวลาถึง 1,000 ปี น้ำอมฤตนั้นมีฤทธิ์ทำให้ผู้ที่ได้ดื่มกินเป็นอมตะ บางตำรากล่าวถึงสาเหตุของการกวนเกษียรสมุทรว่าเนื่องมาจากเทวดาและอสูรมักจะสู้รบ ยกทัพมาปราบอีกฝ่ายบ่อยครั้ง ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอยู่เรื่อยมา ฝ่ายเทวดาจึงไปขอคำปรึกษากับพระวิษณุว่า ทำอย่างไรจึงจะรบชนะเหล่าอสูรได้ตลอดทุกครั้งพระวิษณุจึงแนะนำเรื่องการกวนเกษียรสมุทรเพื่อผลิตน้ำอมฤต ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่และต้องใช้พละกำลังมาก โดยใช้ภูเขามันทระเป็นแกนหมุน ใช้นาควาสุกรีแทนเชือกพันรอบเขามันทระแล้วแบ่งเป็นสองฝ่ายผลัดกันดึงสลับไป-มา เทวดาได้ยินดังนั้นก็ออกอุบายยืมแรงอสูรให้มาช่วยดึงนาคเพื่อกวนทะเลน้ำนม และให้สัญญาว่าจะแบ่งน้ำอมฤตที่ได้ให้ ฝ่ายอสูรเห็นดีก็ตอบตกลง จึงแบ่งด้านกันกวน ฝ่ายเทวดาอยู่ดึงนาควาสุกรีด้านหาง ฝ่ายอสูรให้ดึงด้านหัว
• การกวนครั้งนั้นใช้เวลานาน เขามันทระก็ค่อยๆ เจาะโลกลึกลงๆ พระวิษณุเป็นห่วงว่าโลกจะทะลุหรือแตกสลาย จึงได้อวตารเป็นเต่า (ปางกูรมาวตาร) เอากระดองรองรับเขามันทระไว้ (ซึ่งเป็นตอนที่ปรากฏบนฝาผนัง)
• จากขอบภาพด้านซ้ายจะเป็นภาพกองทัพเหล่าอสูรเตรียมตัวพร้อมรบ เพื่อแย่งน้ำอมฤตมาเป็นของตนฝ่ายเดียว ถัดไปจึงเป็นหัวแถวกวนเกษียรสมุทรด้านอสูร ตนแรกที่เป็นผู้ถือหัวนาควาสุกรีคือทศกัณฑ์ จากจุดนี้บ่งบอกได้ว่า ขอมโบราณได้รวมเอามหากาพย์รามายณะรวมกับคัมภีร์พระเวท ถัดไปเป็นแถวอสูรอีก 91 ตน ไปจนถึงกลางภาพ จะเห็นพระวิษณุสี่กร คอยควบคุมการกวนอยู่หน้าเขามันทระ ใต้เขามันทระเป็นเต่าเอากระดองรองเขา เหนือเขามันทระมีพระอินทร์คอยจับเขาให้ตรง ถัดไปด้านขวาเป็นแถวของเทวดา 88 องค์ ท้ายสุดผู้ถือหางคือหนุมาน ช่วงท้ายของภาพเป็นกองทัพของเหล่าเทวดาเตรียมตัวแย่งน้ำอมฤตจากอสูรเช่นเดียวกัน

อ้างอิง      http://www.oceansmile.com/KHM/AngkorWat.htm
               http://th.wikipedia.org/wiki/

2011年6月21日星期二

ทฤษฏีการอพยพของคนไทย ( คนไทยมาจากไหน)

คนไทยมาจากไหน

     ปัจจุบันถ้ามีคนถามเราว่า “คนไทยมาจากไหน” เราคงจะตอบไม่ได้ง่าย ๆ เมื่อก่อนถ้ามีผู้มาถามเราเช่นนี้ เราก็คงตอบไปว่า “มาจากภูเขาอัลไต” หรือ "มาจากมณฑลเสฉวน บริเวณตรงกลางของประเทศจีน” แต่ปัจจุบัน การศึกษาคนคว้าในเรื่องนี้มีมากขึ้น ทำให้ข้อสันนิษฐานที่แตกต่างไปจากเดิมมีมากขึ้นด้วย
      ขณะนี้ไม่มีนักประติศาสตร์ท่านใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติไทยมาจากไหนกันแน่ แต่เท่าที่ค้นคว้ากันมา มีความเชื่อต่าง ๆ กันดังนี้

   ๑.    เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน  ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน แล้วค่อยอพยพมาทางตอนใต้ของจีน จากนั้นก็ลงมาสู่แหลมอินโดจีน ผู้เสนอความคิดนี้เป็นคนแรกก็คือ Terrien de la Couperie เขาเสนอผลงานเรื่อง The Cradle of the Shan Race (2428) คนไทยที่เชื่อตามทฤษฎีนี้มีหลายคน เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  หลวงวิจิตรวาทการ และรอง ศยามานนท์ เป็นต้น

   ๒.    เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณเทือกเขาอัลไต หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันเป็นผู้เสนอความคิดนี้ เขาคือ William Clifton Dodd งานเขียนเรื่อง The Tai Race : The Eider Brother of the Chinese (2452) เป็นที่สนใจของนักประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง และมีอิทธิพลต่องานของ  W.A.R.  Wood  ในเรื่อง  A  History  of  Siam  และขุนวิจิตรมาตรา ในเรื่อง “หลักไทย”

   ๓   .  เดิมคนไทยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนบริเวณแคว้นอัสสัมในอินเดีย  ผู้ที่เสนอความคิดนี้ก็คือ  ArchibaI R. Colguhoun เขาเป็นชาวอังกฤษ เดินทางสำรวจดินแดนตั้งแต่ทางภาคใต้ของจีนจากกวางตุ้งเข้าไปในพม่า จากนั้นเขาก็เขียนหนังสือเรื่อง Chryse (2428) ต่อมาความคิดนี้ได้รับความสนใจนำไปค้นคว้าต่อ  คนสำคัญที่นำความคิดนี้ไปขยายต่อก็มีเช่น E.H. Parker เขาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องน่านเจ้าพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ผู้เขียนพงศาวดารโยนกก็เชื่อว่า  คนไทยมาจากทางตอนใต้ของจีน  นอกจากนี้ยังมีคนอื่น ๆ เช่น G. Coedes  W. Credner  W. Eberhard F. Mote ม.จ. สุภัทรดิศ  ดิศกุล  ขจร  สุขพานิช  และจิตร  ภูมิศักดิ์ ฯลฯ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีคนทำวิทยานิพนธ์ปริณญาเอกทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการอพยพของชนชาติไทย เขาคือ H.W. Woodward นักประวัติศาสตร์ผู้นี้เชื่อว่าแนวทางอพยพของคนไทยอาจมาทางลาวและลุ่มแม่น้ำป่าสักลงสู่ภาคกลางของประเทศไทย

   ๔.     คนไทยไม่ได้มาจากไหน แต่ถิ่นเดิมของคนไทยก็คือบริเวณพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบัน นักวิชาการที่เสนอความคิดนี้ก็คือ PauI Benedict นักภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เขาค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยโดยใช้หลักฐานด้านภาษาศาสตร์ จากการค้นคว้าทำให้เขาเชื่อว่าภาษาไทยเป็นภาษาใหญ่ของชนชาติเอเชีย อยู่ในตระกูลออสตริก หรือออสโตรนีเซียน  แยกสาขาเป็นพวกไทย  ชวา-มลายู  และทิเบต-พม่า  ดังนั้นเผ่าพันธุ์ของคนไทยจึงไม่น่าจะเป็นพวกมองโกล  แต่น่าจะเป็นพวกชวา-มลายู ประมาณ   ๔,๐๐๐-๓,๕๐๐ ปี การรุกรานของพวกมอญ เขมร จากอินเดีย เข้ามาในแหลมอินโดจีน น่าจะเป็นเหตุทำให้คนไทยขึ้นไปทางใต้ของจีน แต่เมื่อถูกจีนรุกรานก็ต้องถอยร่นไปในเขตแคว้นอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และบริเวณตังเกี๋ยหรือบริเวณเวียดนามเหนือปัจจุบัน  นักวิชาการที่สนับสนุนความคิดนี้ก็มี นายแพทย์สุด  แสงวิเชียร  ผู้ค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐานจากการเปรียบเทียบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินที่ขุดค้นพบในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

    ๕    .  เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเชียก่อน แล้วต่อมาก็อพยพเข้าสู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน ความคิดนี้ค่อนข้างใหม่มาก ผู้เสนอคือ สมศักดิ์  สุวรรณสมบูรณ์ เขาใช้หลักฐานทางด้านการแพทย์ คือการสุ่มตัวอย่างกลุ่มเลือดของคนไทยกับอินโดจีนปัจจุบัน  ปรากฏว่ามีความคล้ายคลึงกัน

      จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็แสดงให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องความเป็นมาของคนไทยก่อนสมัยประวัติศาสตร์ยังไม่ยุติ แต่เท่าที่เราสามารถยึดถือได้ชั่วคราวก็คือความเชื่อของนักวิชาการที่ได้รับความนิยมในข้อ ๒ และ ๓ นั่นคือคนไทยอพยพจากถิ่นอื่นเข้ามาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวการอพยพเป็นแนวเหนือลงมาทางใต้ กระจัดกระจายตามบริเวณที่ใกล้เคียงกันทางตอนใต้ของจีน เช่น ตามบริเวณมณฑลเสฉวน ยูนนาน แคว้นอัสสัม ฉาน ตอนเหนือของเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้นส่วนความเชื่อในข้อ ๔ และ ๕ นับว่าค่อนข้างใหม่ ยังไม่เป็นที่ยอมรับหรือมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อความเข้าใจของคนไทยในด้านความเป็นมาของตนเอง อย่างไรก็ดี สำหรับความเชื่อในข้อ ๔ กำลังเป็นที่ยอมรับและเป็นที่สนใจมากขึ้นในปัจจุบัน


อ้างอิง      ข้อมูลนี้รวบรวมโดย พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล จากหนังสือ  “เอกสารประกอบการให้ความรู้ทางวัฒนธรรมไทยแก่ผู้เดินทางไปตางประเทศ” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

2011年6月14日星期二

ความหมาียประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์คืออะไร

คำว่า “ประวัติศาสตร์” ใช้กันใน 2 ลักษณะคือ
  • ประวัติศาสตร์ หมายถึง เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในอดีต และสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำ หรือสร้างแนวความคิดไว้ทั้งหมด รวมถึงเหตุการณ์ที่เกิดจากเจตจำนงของมนุษย์ ตลอดจนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือธรรมชาติที่มีผลต่อมนุษยชาติ
  • ประวัติศาสตร์ ได้แก่ เหตุการณ์ในอดีตที่นักประวัติศาสตร์ได้สืบสวนค้นคว้าแสวงหาหลักฐานมารวบรวมและเรียบเรียงขึ้น เนื่องจากเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตมีขอบเขตกว้างขวาง และมีความสำคัญแตกต่างมากน้อยลดหลั่นกันไป นักวิทยาศาสตร์จึงหยิบยกขึ้นมาศึกษาเฉพาะแต่สิ่งที่ตนเห็นว่ามีความหมายและมีความสำคัญ
นักประวัติศาสตร์คนแรกเฮรอดอตัสได้รับสมญาว่าเป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์” เพราะเขาเป็นบุคคลแรกที่เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ในอดีตว่า มีคุณค่าควรจดจำบันทึก และเขาได้ใช้วิธีการสืบค้นหาความจริงด้วยการเดินทางไปสอบสวยเรื่องราวต่างๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ ตลอดจนพยายามค้นคว้าหาสาเหตุของเหตุการณ์ ด้วยการอธิบายถึงสภาพของดินแดนต่างๆ อย่างกว้างขวาง เพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวที่เรียบเรียง จึงถือกันว่าเขาเป็นคนแรกที่เรียบเรียงเรื่องราวในอดีตในเชิงประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรแยกได้เป็น 3 พวกคือ
ประโยชน์ของประวัติศาสตร์
ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์

- แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เรื่องราวของเหตุการณืที่บันทึกไว้โดยผู้รู้เห็น หรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง
- แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ บทความหรือรายงานของนักวิชาการทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และสาขาวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- แหล่งข้อมูลตติยภูมิ ได้แก่ เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่ผู้อื่นเรียบเรียงไว้ สารานุกรม และเอกสารทางวิชาการอื่นๆ

หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โบราณวัตถุ โบราณสถาน เงินตรา ฯลฯ  
  • ก่อนประวัติศาสตร์
    สมัยหิน แบ่งเป็น 3 ยุคคือ
    1. ยุคหินเก่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินอย่างหยาบๆ ด้วยการกระเทาะให้เป็นรูปร่างและมีคม ดำรงชีวิตด้วยการเก็บกินจากธรรมชาติ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ
    2. ยุคหินกลาง ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เครื่องมือมีความประณีต มีมากแบบมากชนิดขึ้น เริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเฝ้าที่อยู่อาศัย
    3. ยุคหินใหม่ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินให้แหลมคมและเรียบร้อยขึ้น รู้จักนำกระดูกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ และที่สำคัญคือรู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และทำการเพาะปลูก
  • สมัยสัมฤทธิ์ มนุษย์รู้จักผสมดีบุกกับทองแดงเป็นทองสัมฤทธิ์ สมัยสัมฤทธิ์เริ่มขึ้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้พบโลหะอื่นที่ราคาถูกและมีประสิทธิภาพกว่า คือ เหล็ก และในสมัยสัมฤทธิ์นี้มนุษย์รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักการควบคุมแหล่งน้ำด้วยการชลประทาน และที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
  • สมัยเหล็ก ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการนำเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ
  • สมัยประวัติศาสตร์
    1. สมัยโบราณ เริ่มเมื่อประมาณ 5,000 – 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงประมาณริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกตามบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น แม่น้ำไนล์ ยุเฟรติส-ไทกริส สินธุ และฮวงโห
    2. สมัยกลาง เป็นสมัยที่อาณาจักรโรมันกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณอารยธรรมโบราณทางตะวันออกใกล้แหลมบอลข่าน และกว่าครึ่งของยุโรปตะวันตกได้แตกสลายไป อนารยชนเผ่าต่างๆ เข้าครอบครองแทนที่ความเจริญรุ่งเรือง ที่สืบเนื่องกันมาหลายพันปีได้เสื่อมสลายลงยุโรป กลับตกอยู่ในสภาพที่ต่ำกว่าเดิมในด้านอารยธรรม จนมีการให้ชื่อยุคต่อมาว่ายุคมืด
    3. สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์มิได้มีความเห็นตรงกันตั้งหมดว่าควรถือเอาปรากฎการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ บางคนถือเอาการปฎิรูปศาสนาเป็นการเริ่มสมัยใหม่ของยุโรป แต่นักประวัติศาสตร์คนอื่นอาจยึดเอาปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียแก่พวกเตอร์ก เป็นปีสิ้นสุดของสมัยกลาง แต่โดยทั่วไปถือเอาคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน

2011年6月7日星期二

สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ที่ซีอาน

สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ คือมหาสุสานของจักรพรรดิจีน จิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉินสื่อหวงตี้) แห่งราชวงศ์ฉิน  อยู่ที่เชิงเขาหลีซัน ตั้งอยู่ที่ตำบลหลินถง ห่างจากเมืองซีอาน มณฑลฉ่านซี ประเทศจีน ปัจจุบันสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1987 และถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของเมืองซีอาน
    ตามประวัติ สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้เริ่มก่อสร้างในสมัยจิ๋นซีฮ่องเต้ ใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 38 ปี ตั้งแต่ปี 246 - 208 ก่อนคริสตกาล ซึ่งอาณาเขตพื้นที่ของสุสานรวมทั้งสิ้น 2,180 ตร.กม. แบ่งออกเป็นพระราชฐานชั้นในและพระราชฐานชั้นนอก ภายในสุสานใช้บรรจุพระบรมศพของจิ๋นซีฮ่องเต้ ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ตลอดจนกองกำลังทหาร นางสนมและนางกำนัล รถม้าและขุนพลทหาร ที่สร้างมาจากดินเผา จำนวนมาก เพื่อเป็นตัวแทนของข้าราชบริพารในการร่วมเดินทางไปยังปรโลกของจิ๋นซีฮ่องเต้
   โครงสร้างและสถาปัตยกรรมโดยรวมของสุสาน มีพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความลึกเฉลี่ย 35 เมตร กว้าง 145 เมตร และ ยาว 170 เมตร สำหรับห้องบรรจุพระบรมศพอยู่จุดกึ่งกลางของสุสาน มีความสูง 15 เมตร มีขนาดพื้นที่และความใหญ่โตมโหฬาร สำหรับภายใน ในส่วนที่ก่อสร้างจากหินนั้นยังคงได้รับการปิดผนึกอย่างดีโดยคงสภาพเดิมเอาไว้ และไม่เคยผ่านการขุดและรื้อทำลายมาก่อน โดยโครงสร้างของสุสานดังกล่าว มีรูปแบบโครงสร้างและการจัดสร้างที่มีความสลับซับซ้อน ขนาดของสุสานมีขนาดมหึมา ยิ่งใหญ่สมพระเกียรติของจักรพรรดิจีนผู้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นปึกแผ่น
     สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ได้ค้นพบโดยบังเอิญเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2517 โดยชาวนาในหมู่บ้านซีหยาง ในขณะที่ขุดดินเพื่อทำบ่อน้ำ บริเวณเชิงเขาหลีซาน ห่างจากตัวเมืองซีอาน ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 35 กม. โดยในระหว่างที่ขุดนั้น ก็บังเอิญพบกับซากของทหารดินเผา ที่ทราบภายหลังว่ามีอายุมากกว่า 2,000 ปี ปัจจุบันรัฐบาลจีนขุดค้นพบวัตถุโบราณที่เป็นกองทัพทหารดินเผา สรรพาวุธ รถม้าและม้าศึก จำนวนทั้งสิ้นกว่า 7,400 ชิ้น ภายในบริเวณพื้นที่หลุมสุสานกว่า 25,000 ตร.ม. มีการคาดคะเนว่าอาณาเขตของสุสานจิ๋นซีฮ่องเต้จะมีพื้นที่มากกว่า 2,180 ตร.กม. สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2530

2011年6月5日星期日

หลักฐานประวัติศาสตร์


หลักฐานประวัติศาสตร์
         หมายถึง  ร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกล่าวได้ว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

นักประวัติศาสตร์จึงแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามลักษณะการเกิดออกเป็น 2 ประเภท

     1.1 หลักฐานประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น ศิลาจารึก เจดีย์พระปรางค์สามยอด เครื่องศาสตราวุธ โครงกระดูกมนุษย์ เป็นต้น
     1.2 หลักฐานที่ทำขึ้นอย่างระมัดระวังรอบคอบ และมีแบบแผนหลังเกิดเหตุการณ์เล็กน้อย เช่น

               1)   จารึก ความหมายตามรูปศัพท์ของจารึก หมายความว่า การเขียนที่มีลักษณะเป็นตัวอักษรแผ่นศิลา หรือโลหะ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความคงทนถาวร  ได้แก่ จารึกจารึกที่มีลักษณะ เป็นประกาศสาธารณะ จารึกศาสนา จารึกที่เป็นเรื่องราวของบุคคล เล่าถึงบรรพบุรุษ เช่น ศิลาจารึกสุโขทัย จารึกเป็นหลักฐานชั้นต้นที่มีความสำคัญ ในการตีความเพื่อสรุปหาข้อเท็จจิรงและทำให้เราได้เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆในอดีตทั้งในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา  และวัฒนธรรม
                2)  
ตำนาน คือ เรื่องแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าต่อๆกันมา โดยมากใช้เกี่ยวกับโบราณวัตถุ โบราณสถาน เช่น ตำนานท้าวจตุคาม รามเทพ ตำนานแม่เจ้าอยู่หัว ของจังหวัดนครศรีธรรมราช