搜索此博客

2011年7月4日星期一

การศึกษาโจวต้ากวน

   ต้ากวาน (เฉาตากวน)


        โจวต้ากวนหรือ โจวเฉ่าถิง หรือ เฉา-ถิง-ยี่-หมิ่น นักเขียนชาวจีน   ผู้ร่วมทางไปกัมพูชากับคณะทูตซึ่งพระเจ้าเฉวิงจงแห่งราชวงศ์หยวนส่งไปเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชายอมสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักจีน ใน พ.ศ.๑๘๓๘
๑ ที่ตั้ง
              นครเจินละหรือเขมร กัมพูชา ปี พ.ศ. 1838 ปีที่คณะราชทูตจีน สมัยราชวงศ์หงวน เดินทางไปถึง พระเจ้าแผ่นดิน ชื่อพระเจ้าศรินทรวรมันโจวต้ากวาน (เฉาตากวน) หนึ่งในคณะทูตจีน บันทึกเรื่องราวกว่าหนึ่งปีที่อยู่ในเจินละว่า เคยเห็นขบวนพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกนอกพระราชวังสี่ห้าครั้งต่อไปด้วยนี้ เป็นถ้อยคำสำนวนจีน เขียนโดยโจวต้ากวาน แปลไทยโดยคุณเฉลิม ยงบุญเกิด
๒  ประวัติศาสตร์ความเป็นมา
            บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ(เจิ้น หล่า ฝง ตู้ คี่-)   เป็นบันทึกเกี่ยวกับเรื่องราวกัมพูชาของโจวต้ากวนหรือ โจวเฉ่าถิง หรือ เฉา-ถิง-ยี่-หมิ่น นักเขียนชาวจีน ผู้ร่วมทางไปกัมพูชากับคณะทูตซึ่งพระเจ้าเฉวิงจงแห่งราชวงศ์หยวนส่งไปเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชายอมสวามิภักดิ์ต่อราชสำนักจีนใน พ.ศ.๑๘๓๘ โจวต้ากวนเดินทางไปถึงเมืองนครธม พ.ศ.๑๘๓๙ แล้วพำนักอยู่ประมาณ๑ปีก่อนกลับและเขียนบันทึกฉบับนี้หลังจากเดินทางถึงจีนแล้ว 
              ปอล เปลลิโอต์    ระบุว่า โจวต้ากวนเดินทางไปกัมพูชาระหว่างพ.ศ.๑๘๓๓๑๘๓๔ และเขียนบันทึกขึ้นก่อนปีพ.ศ.๑๘๕๕ บันทึกนี้ถูกตีพิมพ์อีกในพ.ศ.๑๘๘๙ ก่อนสิ้นราชวงศ์มองโกล และถูกตีพิมพ์ไม่น้อยกว่า ๗ ครั้งระหว่างพ.ศ.๒๑๘๙๒๑๙๐ หลังจากนั้นบันทึกของโจวต้ากวนก็ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ตามลำดับอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน ในที่นี้ผู้วิพากษ์จะนำเนื้อหาในบันทึกของโจวต้ากวนตอนที่ ๑๖๒๐ แปลโดย เฉลิม ยงบุญเกิด ฉบับตีพิมพ์พ.ศ.๒๕๑๐ มาวิพากษ์เพื่อประเมินคุณค่าและความน่าเชื่อถือโดยเปรียบเทียบกับเนื้อหาจากการแปลของของเปลลิโอต์ , ดาร์ครี พอลและสมิธีส์
๓  ความสำคัญ
            บันทึกของโจวต้ากวนได้รับยกย่องว่าถูกต้องแม่นยำ
๒ เอกสารของโจวต้ากวนจึงมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์กัมพูชา
๓ เขาบุว่า สยามกับ เสียน-หลอมีความหมายเดียวกัน
  บันทึกของโจวต้ากวนได้รับยกย่องว่าถูกต้องแม่นยำเมื่อตรวจสอบกับหลักฐานโบราณคดี เรื่องราวของกัมพูชาเคยปรากฏอยู่ในบันทึกของหยวนจางและอี้จิงประมาณพุทธศตวรรษที่๑๒-๑๓ แต่ยังไม่ปรากฏฉบับแปลภาษาไทย เอกสารของโจวต้ากวนจึงมีคุณค่ายิ่งต่อการศึกษาประวัติศาสตร์กัมพูชา
   ระหว่างต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่๑๙ จีนยังเรียก กัมพูชาว่าเจิ้นหล่า(Tchen-la) หรือ (Tchan-la)” อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่๑๒ และระบุว่าชาวกัมพูชาเรียกอาณาจักรของตนว่า กานป้อจื้อ (Kan-po-tche)”  
    เฉลิม ยงบุญเกิดยังคงรักษาคำว่าเสียน-หลอเอาไว้บางตอนเสียน-หลอหมายถึง กรุงศรีอยุธยาโดยเปลลิโอต์ระบุว่า เมื่อ หลอหู(ละโว้)ยึดครอง เสียนใน พ.ศ.๑๘๙๒แล้ว จีนเรียกรัฐใหม่นี้ว่า เสียน-หลอหรือเสียน-หลอหูเขาถอดคำว่า เสียนหลอในภาษาจีนเป็น สยาม-Siam” แต่ในบทวิจารณ์ท้ายฉบับแปล เปลลิโอต์ระบุว่า สยามกับ เสียน-หลอมีความหมายเดียวกัน ขณะที่ฉบับแปลของ เจ. กิลแมน ดาร์ครี พอล และฉบับแปลของสมิธีส์ กลับละเลยคำว่า เสียน-หลอโดยต่างก็ใช้คำว่า” Siam” ตามเปลลิโอต์

没有评论:

发表评论