搜索此博客

2011年6月5日星期日

หลักฐานประวัติศาสตร์


หลักฐานประวัติศาสตร์
         หมายถึง  ร่องรอยการกระทำ การแสดง การพูด การเขียน การประดิษฐ์ สิ่งก่อสร้าง ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ รวมทั้งความคิดอ่าน ความรู้สึก ประเพณีปฏิบัติของมนุษย์ในอดีต ที่ได้ทิ้งร่องรอยเอาไว้ ในบริเวณที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งกล่าวได้ว่า อะไรก็ตามที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ทั้งสิ้น

นักประวัติศาสตร์จึงแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ตามลักษณะการเกิดออกเป็น 2 ประเภท

     1.1 หลักฐานประเภทโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น ศิลาจารึก เจดีย์พระปรางค์สามยอด เครื่องศาสตราวุธ โครงกระดูกมนุษย์ เป็นต้น
     1.2 หลักฐานที่ทำขึ้นอย่างระมัดระวังรอบคอบ และมีแบบแผนหลังเกิดเหตุการณ์เล็กน้อย เช่น

               1)   จารึก ความหมายตามรูปศัพท์ของจารึก หมายความว่า การเขียนที่มีลักษณะเป็นตัวอักษรแผ่นศิลา หรือโลหะ ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความคงทนถาวร  ได้แก่ จารึกจารึกที่มีลักษณะ เป็นประกาศสาธารณะ จารึกศาสนา จารึกที่เป็นเรื่องราวของบุคคล เล่าถึงบรรพบุรุษ เช่น ศิลาจารึกสุโขทัย จารึกเป็นหลักฐานชั้นต้นที่มีความสำคัญ ในการตีความเพื่อสรุปหาข้อเท็จจิรงและทำให้เราได้เข้าใจเหตุการณ์ต่างๆในอดีตทั้งในด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา  และวัฒนธรรม
                2)  
ตำนาน คือ เรื่องแต่ปางหลัง หรือเรื่องราวนมนานที่เล่าต่อๆกันมา โดยมากใช้เกี่ยวกับโบราณวัตถุ โบราณสถาน เช่น ตำนานท้าวจตุคาม รามเทพ ตำนานแม่เจ้าอยู่หัว ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

2 条评论: